ชฺวี ยฺเหวียน
ชฺวี ยฺเหวียน

ชฺวี ยฺเหวียน

ชฺวี ยฺเหวียน (จีน: 屈原; พินอิน: Qū Yuán; ราว 340–278 ปีก่อนคริสตกาล)[1][2][3] เป็นเสนาบดีและกวีชาวจีนในยุครณรัฐของจีนโบราณ มีชื่อเสียงเพราะความรักชาติและผลงานด้านร้อยกรอง โดยเฉพาะประชุมกวีนิพนธ์เรื่อง ฉู่ฉือ (楚辭) ซึ่งเชื่อกันมาแต่ดั้งเดิมว่า เป็นผลงานของเขา และถือกันว่า เป็นหนึ่งในสองประชุมร้อยกรองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งจีนโบราณ อีกเรื่อง คือ ชือจิง (詩經) นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่า เขาเป็นต้นกำเนิดเทศกาลเรือมังกร (龍船節) อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีผู้โต้แย้งเรื่องเขาเป็นผู้แต่ง ฉู่ฉือ จริงหรือไม่[4] แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า เขาเป็นผู้แต่ง หลีเซา (離騷) บทประพันธ์ที่เลื่องชื่อที่สุดในกลุ่มร้อยกรอง ฉู่ฉือข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขามีอยู่ไม่มาก เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่เอ่ยถึงเขา คือ ร้อยกรองบทหนึ่งซึ่งเจี่ย อี้ (賈誼) ข้าราชการซึ่งถูกให้ร้ายและอัปเปหิไปยังฉางชา (长沙) ประพันธ์ขึ้นเมื่อ 174 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างเดินทางไปฉางชา โดยพรรณนาว่า ตนเองมีชะตากรรมคล้ายชฺวี ยฺเหวียน ในสมัยก่อน[5] แปดปีให้หลัง ซือหม่า เชียน (司馬遷) จึงเขียนประวัติของชฺวี ยฺเหวียน ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยรวมอยู่ในหนังสือชุด ฉื่อจี้ (史記) แต่มีผู้เห็นว่า ข้อมูลที่ซือหม่า เชียน เขียนไว้นั้นย้อนแย้งหลายจุด[6]

ใกล้เคียง